วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

อาชญากร คอมพิวเตอร์


อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

รูปแบบอาชญากรคอมฯ
                    รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์  แบ่งตามประเภทที่ร้ายแรงได้  5  ประเภท  คือ
                   
                    1.แฮกเกอร์  (Hacker)  คือพวกไปแอบดู  ที่ปกติแล้วการแอบดูก็ไม่ใช่ความผิด  แต่สมัยนี้ที่เป็นสังคมแบบ  Knowledge economy  คือ เศรษฐกิจที่มีรายได้ที่เกิดจากความรู้  ความรู้ที่ว่านี้ไปสร้างอาชญากรรมได้  คือ  ไปแอบดู  password  แอบดูข้อมูลสำคัญ    เช่น  ข้อสอบ  หรือความรู้อื่นๆ 
และเนื่องจากคอมพิวเตอร์นี้สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก  การเข้าไปลักลอบแอบดูข้อมูลของผู้อื่นจึงทำได้มากเช่นกัน"ผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี  ประกอบกับเทคโนโลยีเหล่านี้มีจุดโหว่ เป็นช่องว่างให้เขาเข้ามาดูได้ซึ่งการมาดูแล้วทราบในสิ่งเล็กน้อยก็มีความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในกฎหมายเก่า  สำหรับกฎหมายใหม่จึงต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการเข้าไปดูข้อมูลที่เขาไม่ได้อนุญาตนั้น
เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญา  เช่นการไปแอบดูบัตรเครดิตคนอื่น"
                    2.แครกเกอร์  (Cracker)  คือพวกที่ทำความเสียหายในระบบ  เช่น  เข้าไปโกง  ฟอกเงิน  เผยแพร่อนาจารผู้เยาว์  เข้าไปบิดเบือนข้อมูล
เข้าไปขโมยข้อมูลความลับของบริษัทเอกชน  หรือเข้าไปขโมยข้อมูลความลับของชาติ  ซึ่งก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่ร้ายแรงที่สุด
                    3.เผยแพร่ไวรัส  พวกนี้แม้ว่าจะไม่ได้ทำอาชญากรรมโดยตรง  แต่เป็นพวกที่จับยากที่สุดเพราะไวรัสเผยแพร่เร็วและขยายวงกว้าง 
ซึ่งปัจจุบันกฎหมายที่ควบคุมไวรัสนี้  ก็ยังไม่ค่อยมี  มีแต่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ค่อนข้างทันสมัย  ทางกระทรวงไอซีที
จึงจะมีการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับไวรัสขึ้นมา  ซึ่งเนื้อหาก็ใกล้เคียงกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกากำจัดภาพโป๊อนาจารแบบรื้อเครือข่าย
                    4..ภาพโป๊  อนาจาร  ส่วนนี้ไม่มีใครทำฟรี  ต้องมีสปอนเซอร์  มีการเก็บเงิน  มีสมาชิก  ซึ่งจากการสังเกตุพบว่ามีเป็นจำนวนมากในส่วนนี้ทางกระทรวงสามารถคุมได้หมด  เพราะส่วนใหญ่ก็ทำจากเครื่อง  PC  และส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของการเก็บเงิน  ที่ถ้าจะให้จับอย่างจริง    จัง    แล้ว  ก็ไม่มีใครอยู่รอดแน่นอน
                    "ทุกวันนี้เราใช้  filter  อย่างเดียว  คือป้องกันไม่ให้คนมาเปิดดู คือ  บล็อกที่  ISP  ไม่ให้เปิดดูเวปไซด์นี้ได้  ซึ่งก็เป็นแค่การบล็อกที่  ISP  เท่านั้น  ไม่ได้ไปจัดการที่ต้นทาง  คนที่ทำเวปไซด์นี้ก็รอด  แต่ต่อไปจะมีการไปตามจับคนที่ทำเวปไซด์เหล่านี้แล้ว  ซึ่งก็รับรองว่าตามตัวคนที่ทำเจอแน่  เพราะสามารถ  check  ทั้ง  Protocal  ,  TCP/IP  หรือ  internet  protocal  เป็น  Protocal  ของทหาร  ฉะนั้น  สามารถ  check  ได้ตลอด  เพียงแต่ว่าจะตามตัวหรือไม่เท่านั้น  ซึ่งสำหรับเวปไซด์โป๊ในประเทศไทยก็มีอยู่ไม่เกิน  120 เวป  พวกนี้จะมีลิงค์ถึงกันและกัน  เป็นเครือข่าย  เพื่อหาสมาชิกใหม่    ที่ยิ่งทำให้เราตามจับได้ง่ายขึ้น"
                    5.อาชญากรรมในส่วนของการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต  โดยเฉพาะเรื่อง  ของการซื้อของทางอินเตอร์เน็ตแล้วไม่จ่ายเงิน 
ส่วนนี้ต่อไปเมื่อ  พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ประกาศใช้  จะสามารถตามจับคนที่ทำผิดได้  แต่ก็มีข้อจำกัดที่จับได้เฉพาะ
การทำความผิดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น  เช่นการซื้อของแบบ  E-Commerce  ที่คนขายอยู่ประเทศหนึ่ง  คนซื้อยู่ประเทศหนึ่ง 
และแหล่งสินค้าก็อาจจะอยู่อีกประเทศหนึ่งก็ได้  ซึ่งเป็นปัญหาเทคโนโลยี  มีการทำการค้าในรูปแบบนี้อยู่มากแล้วในปัจจุบัน 
ซึ่งกฎหมายของไทยก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้  ทำได้แต่เพียงว่าต้องมีการไปเจรจาแบบทวิภาคีกับแต่ละประเทศไปก่อน

        http://www.google.com

                   

อาชยากรรมคอมพิวเตอร์


อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน

     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1. การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ  ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่างๆ
2. การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการ รักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูลต่างๆ
3. เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ(Operating System)
4. เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด

รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้   9 ประเภท
(ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. การฟอกเงิน
6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น      ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
เช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง

ผลกระทบของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

 -ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
 -ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
 -ผลกระทบต่อจริยธรรม  เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตในการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก
-ผลกระทบต่อการประกอบอาชญากรรมประเภทอื่น ๆ
ตัวอย่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
1. Morris Case การเผยแพร่หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)โดยนายโรเบิร์ต ที มอริส  นักศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล หนอน (worm) สามารถระบาดติดเชื้อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ โดยมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็; ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ให้รอลงอาญา โดยให้บริการสังคมเป็นเวลา  400 ชั่วโมง และปรับเป็นเงิน 10,050 ดอลลาร์สหรัฐ
2. Digital Equipment case
เดือนธันวาคม ค.ศ.1980 เครือข่ายของบริษัท Digital EquipmentCorporation ประสบปัญหาการทำงาน โดยเริ่มจากบริษัท U.S Leasing
- คนร้ายโทร. ปลอมเป็นพนักงานคอมของ บริษัท Digital Equipment
- ขอเข้าไปในระบบ(Access)โดยขอหมายเลขบัญชีผู้ใช้ (Account Number) และรหัสผ่าน (password)
- ต่อมามีการตรวจสอบ
- มีการก่อวินาศกรรมทางคอมพิวเตอร์
* คอมพิวเตอร์พิมพ์ข้อความหยาบคาย เครื่องพิมพ์พิมพ์กระดาษเต็มห้อง
*ลบข้อมูลในไฟล์บริษัททิ้งหมด เช่น ข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง
  ใบเรียกเก็บเงิน

3. “141 Hackers” และ  “War Game”
ภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1983
·       “141 Hackers” การเจาะระบบสาธารณูปโภคของสหรัฐอเมริกา
·       “War Game” การเจาะระบบจนกระทั่งเกือบเกิดสงครามปรมาณู ระหว่าง
·       สหรัฐอเมริกา และโซเวียต
·       ทั้งสองเรื่อง ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมของสภาคองเกรส (Congress)

4. ไวรัส Logic bomb/Worm ใน Yahoo
·       ทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการของ Yahoo ในปี 1997
·       ทำลายระบบคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง

5. การเจาะระบบข้อมูลของ Kevin Mitnick
·       โดยเจาะระบบของนักฟิสิกส์ Shimomura  ของ San Diego 
·       Supercomputer center
·       เจาะระบบการบริการออนไลน์ The Well
·       เจาะระบบโทรศัพท์มือถือ
·       ไม่แสวงหาผลประโยชน์
·       Mitnick เจาะระบบข้อมูลเหมือนคนติดยาเสพติด ไม่สามารถเลิกได้

6. การปล้นเงินธนาคารพาณิชย์ 5.5 ล้านบาท
คนร้ายเป็นอดีตพนักงานธนาคาร โดยมีคนในร่วมทำผิด เป็นทีม
วิธีการ
·       *โดยการปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน เพื่อขอใช้บริการ ฝาก-ถอน
·       โอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ต “อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง” ซึ่งเป็นบัญชี
·       ของลูกค้าที่มีการฝากเงินไว้เป็นล้าน
·       เมื่อได้รหัสผ่าน(Password)แล้ว ทำการโอนเงินจากบัญชีของเหยื่อ
·       ทางอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์ (เทโฟนแบงค์กิ้ง) ไปเข้าอีกบัญชีหนึ่ง
·       ซึ่งได้เปิดไว้โดยใช้หลักฐานปลอม
   * ใช้บริการคอมฯ จากร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่หลายแห่ง
   * ใช้ A.T.M. กดเงินได้สะดวก
(ปัจจุบัน ร.ร.คอมฯเปิดสอนเกี่ยวกับการแฮคเกอร์ข้อมูล, การใช้อินเตอร์เน็ตคาเฟโดยเสรี
ไม่กำหนดอายุ เงื่อนไข การแสดงบัตรประชาชน)

7. การทุจริตในโรงพยาบาล และบางบริษัท
โดยการทำใบส่งของปลอมจากคอมพิวเตอร์ เช่นจ้าหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ ยักยอกเงินโรงพยาบาล 40,000 เหรียญโดยการทำใบส่งของปลอมที่กำหนดจากเครื่องคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลเจ้าหน้าที่ ควบคุมสินเชื่อ  จัดทำใบส่งของปลอม จากบริษัทที่ตั้งขึ้นปลอมโดยให้เช็คสั่งจ่ายบริษัทปลอมของตัวเองที่ตั้งขึ้น  สูงถึง 155,000 เหรียญ

8. การทุจริตในบริษัทค้าน้ำมัน
  พนักงานควบคุมบัญชี สั่งให้คอมพิวเตอร์นำเช็คจ่ายภรรยา แทนการจ่ายให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยการแก้ไขรหัสผู้รับเงิน

9. การทุจริตในธนาคารของเนเธอร์แลนด์
 ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ และผู้ช่วยถูกจับในข้อหายักยอกเงินธนาคารถึง65 ล้านเหรียญ ภายใน 2 ปี โดยการแก้ไขรหัสโอนเงินที่สามารถโอนเงินผ่านคอมพิวเตอร์

10. การทุจริตในบริษัทประกัน
 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินไหมทดแทนของบริษัท  ทำการทุจริตเงินของบริษัทจำนวน 206,000 เหรียญ ในรอบ 2 ปีใช้ความรู้เรื่องสินไหมทดแทน โดยใช้ชื่อผู้เสียหายปลอมแต่ใช้ที่อยู่ของ  ตัวเองและแฟน

11. ระบบคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยมิชิแกน
 ระบบข้อมูลซึ่งประมวลโดยคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้สามารถจัดการข้อมูลได้  มากกว่า 1 คน ทำให้ระบบข้อมูลนักศึกษา 43,000 คนได้รับความเสียหาย คะแนนเฉลี่ยถูกเปลี่ยน ข้อมูลบางอย่างถูกลบ

12. การทุจริตในบริษัทแฟรนไชส์
เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ ทำการทุจริต ลบข้อมูลสินค้าคงคลัง และค่าแรงของแฟรนไชส์ 400 แห่ง

13. การทุจริตในกรมสวัสดิการสังคมของแคลิฟอร์เนีย
หัวหน้าและเสมียน ยักยอกเงินไปกว่า 300,000 เหรียญ ภายในหนึ่งปีโดยการร่วมกันจัดทำใบเบิกปลอม และไม่ผ่านกระบวนการอนุมัติที่ถุกต้อง

14. การทุจริตสนามม้าแข่งในออสเตรเลีย
 เสมียนที่ควบคุมในระบบม้าแข่งแห่งหนึ่งของรัฐบาลได้ทุจริต การแก้ไขเวลาในเครื่องให้ช้าลง 3 นาที
 ทราบผลการแข่งขันจะโทรแจ้งแฟนความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่มีใครพิสูจน์ทราบ ไม่รู้ว่าทำมานานเท่าใด จับได้เพราะแฟนสาวโกรธที่ได้เงินมาแล้วแบ่งให้หญิงอื่น

15. การทุจริตโกงเงินในบริษัท เช่น
โปรแกรมเมอร์นำเอาโปรแกรมบัญชีฝากเผื่อเรียก มายักยอกเบิกเกินบัญชี  ในบัญชีตนเอง เป็นเวลา 6 เดือน รวม 1,357 เหรียญพนักงานที่ถูกนายจ้างไล่ออก ได้ทำลายข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบon-lineเจ้าหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานแผนกคอมพิวเตอร์ ขโมยที่อยู่ของลูกค้าจำนวน 3 ล้านราย เพื่อเรียกค่าไถ่จากบริษัท รองประธานระบบคอมพิวเตอร์ หัวหน้าปฏิบัติการของธนาคารร่วมกับ บุคคลภายนอกอีก 3 คน โอนเงินจากบัญชีของลูกค้าที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวไปเข้าบัญชีที่จัดทำขึ้นมา ผู้ปฏิบัติกาคอมพิวเตอร์กดปุ่ม “Repeat” เพื่อจัดทำเช็คให้ตนเองถึง200 ใบ  แต่ถูกจับขณะนำเช็คใบที่ 37 ไปแลกเงินสดจากธนาคารการบันทึกรายการปลอมพนักงานคอมพิวเตอร์ต่อรองให้ทางบริษัทขึ้นเงินเดือนให้ทั้งแผนก ไม่เช่น นั้น ใบส่งของจำนวน 28,000 ใบ ที่กำลังจะส่ง จะถูกลดราคาลงไป 5%ผู้วิเคราะห์ของระบบห้างสรรพสินค้าใหญ่ สั่งซื้อสินค้าจากห้างราคาแพงแต่ให้คอมฯพิม์ราคาต่ำ

ธุรกิจบน Internet
ค้าขายด้วย E-Commerce  (Electronics commerce)
ธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
1 ธุรกิจขายตรง
2 ร้านขายหนังสือ
3 ธุรกิจร้านค้าอาหาร
E-commerce กับธุรกิจผิดกฎหมาย
ปัจจุบันได้มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในทางผิดกฎหมายมากขึ้น
เช่น การขายหนังสือลามก, วีดีโอลามก, สื่อลามกประเภทต่างๆ
เป็นแหล่งโอนเงินที่ผิดกฎหมาย
รวมทั้งใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงเพื่อกระทำความผิด
เป็นต้น
        http://www.google.com

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณคอมพิวเตอร์


  จรรณยาบรรณผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์ และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่น อยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกใน เครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตาม การสร้ากฎเกณฑ์ก็เพื่อให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้ รับประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดปัญหาจากผู้ใช้บางคนที่สร้างความเดือดร้อนให้

ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายใดจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายบนระบบ คอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้าใช้มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กร ที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่าง ๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่น เครือข่าย มีข้อมูลข่าวสารวิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารลงใน เครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง ก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่าย อีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
 

ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน คุณได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ดีจะต้อง เข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆที่แต่ละเครือข่ายย่อยวางไว้ด้วย ไม่พีงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำกาใดๆ ที่สร้างปัญหา หรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อยๆนั้นอย่างเคร่งครัด

การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง เช่น การส่งกระจายข่าวลือ ไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจาย ไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้ และไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อสังคมอินเทอร์เน็ต

เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จึงมีผู้พยายามรวบรวมกฏกติกามารยาท และวาง เป็น จรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette

ข้อมูลและข้อความในเรื่องจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตนี้ ได้เรียบเรียงมาจากบทความบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยฟอร์ริดาแอตแลนติก โดยผู้รวบรวมชื่อ Arlene H. Rinaldi นอกจากนี้ยังได้รวบรวมจากข้อคิดเห็น และการเสนอข่าวในยูสเน็ตนิวส์
จรรยา<wbr>บรรณ<wbr>เกี่ยวกับการ<wbr>ใช้ Telnet
telnet เป็นคำสั่งบนอินเทอร์เน็ตที่ยอมให้ผู้ใช้เรียกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ อยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้มีอิสระในการเรียกคำสั่ง telnet เพื่อต่อไปยังเครื่องต่างๆได้ทั่วโลก แต่การที่จะเข้าไปใช้ใน เครื่องใดจะต้องยึดถือข้อปฏิบัติกฏระเบียบ ดังต่อไปนี้

- ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่คุณมีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตให้ ใช้ได้ จะต้องไม่ละเมิดโดยการแอบขโมยสิทธิผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่นใช้บัญชีและ รหัสผ่านของผู้อื่น
- เครื่องที่ต่อรับ telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง คุณควรทำความ เข้าใจโดยการศึกษาข้อกำหนด โดยเฉพาะเมื่อ login เข้าไปจะมีข้อความและคำชี้แจงบาง อย่างให้อ่านและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
- ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย telnet จะต้องรีบปฏิบัติงาน และใช้ด้วยเวลาจำกัด เมื่อเสร็จ ธุระแล้วให้รีบ logout ออกจากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของ เครื่องเสมอ
- ข้อมูลที่ปรากฏบนจอภาพ หรือข้อมูลที่คุณต้องการคัดลอกมาเก็บไว้ยังเครื่องของคุณ หรือฮาร์ดดิสบนพีซีของคุณ
จรรยา<wbr>บรรณ<wbr>การ<wbr>ใช้<wbr>ระบบ<wbr>สื่อ<wbr>สารอิเลกทรอ<wbr>นิกส์ เช่น ยูสเน็ตนิวส<wbr>์ บูเลติ<wbr>นบอร์ด<wbr>
ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิวส์ ระบบ สมาชิกแจ้งข่าว หลายสมาคมบอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเลก ทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอข่าวและผู้อภิปรายเรื่องต่างๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่น ข่าวบนยูสเน็ตนิวส์ แต่ละกลุ่ม เมื่อส่งออกจะกระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่นๆทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดานข่าวจะต้องเคารพกฏกติกา มารยาท โดยเคร่งครัด

ข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
- ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็น ไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพ เข้าใจได้
- ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้เขียนให้ตรง โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
- ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
- ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอย หรือข่าวลือ หรือ เขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
- จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ เพราะหลายเครื่องที่ อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
- ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อๆกันมา การเขียนข่าวจึงควร พิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก 
- ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรืองานเฉพาะของตน เพื่อ ประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า
- การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนต์ตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่ง แอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติด ต่อได้
- ในการทดสอบการส่ง ไม่ควรทำพร่ำเพื่อ การทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่ เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
- หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรใหญ่มีความหมายถึงการตะโกน หรือการแสดง ความไม่พอใจ ในการเน้นคำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
- ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
- ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขัน หรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
- ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
- ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อ และเมื่อ ส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
- ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
- เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
    IMHO - in my humble / honest opinion
    FYI - for your information
    BTW - by the way
- การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์ หรือความรู้สึกส่วนตัว และระลึกเสมอว่าข่าวที่ เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
- ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าว จะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และ เมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
- ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mbox และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้ จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมาย ส่งเข้ามามาก

บัญญัติ 10 ประการ<wbr><wbr>

ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ เพื่อระลึกและ เตือนความจำเสมอ

1. สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. สูเจ้าต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. สูเจ้าต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. สูเจ้าต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. สูเจ้าต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. สูเจ้าต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. สูเจ้าต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. สูเจ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกามารยาท

จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ

ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีและวาง ระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น หากปฏิบัติเช่นไรจะถูกคัดชื่อออกจากการเป็นผู้ใช้เครือข่าย
 
อนาคตของการใช้เครือข่ายยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมสงบสุข และหากการละเมิดรุนแรง กฏหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550



พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่มา http://www.cowboythai.com/forum/index.php?topic=1443.msg9206;topicseen