วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Outsourcing


การ
 Outsourcing
Outsourcing เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่หลายบริษัทใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะการ Outsource งานที่บริษัทไม่ถนัด ทำไม่ทัน หรืองานที่ต้องลงทุนสูงออกไปให้บริษัทที่มีความพร้อมและความชำนาญกว่าเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบแทน จะช่วยให้บริษัทมีเวลาในการดูแลงานอื่นๆ ที่สามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้บริษัท และช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความหมายของ Outsourcing
           Outsourcing จริงๆ แล้วคำนี้วนเวียนอยู่รอบตัวเราแทบทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัว ใครบ้างจะรู้ว่าการซื้ออาหารมารับประทานในแต่ละวันนั้น ก็เป็นการ Outsource รูปแบบหนึ่ง เพราะเป็นการให้คนอื่นทำอาหารให้เรา ดังนั้นอะไรก็ตามที่เราให้ผู้อื่นดำเนินการแทนเรา นั่นล่ะคือการ Outsourceสำหรับในที่นี้จะอธิบายถึงความหมายของการ Outsourcing ดังนี้
1. การซื้ออุปกรณ์ วัตถุดิบ จากผู้ขายภายนอก เป็นการไปหาของจากภายนอกทุกเรื่อง การซื้ออุปกรณ์ต่างๆ บริษัทไม่จำเป็นต้องซื้อเองก็ได้ อาจให้คนหรือบริษัทข้างนอกเป็นผู้จัดหามาให้ ในส่วนนี้มีความหมายกว้างมาก แม้แต่การจ้างแรงงานข้างนอกก็เป็นการ Outsourcing เช่นกัน
2. กลยุทธ์การใช้ทรัพยากรภายนอกเพื่อกิจการทางการค้า บางครั้งอาจเป็นไปได้ที่บริษัท
เราไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทัน จำเป็นต้องจ้างคนภายนอกเข้ามา สำหรับธุรกิจที่ผลิตสินค้าขาย หากมียอดสั่งซื้อเข้ามาเรื่อยๆ บริษัทเองก็คงไม่อยากทิ้ง เพราะ การที่จะหาลูกค้าใหม่เข้ามา 1 ราย มีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ยอดสั่งซื้อที่มีเข้ามาจึงไม่ควรทิ้ง หากบริษัททำการผลิตสินค้าเป็นกะ ก็อาจเพิ่มรอบการผลิตเป็น 2-3 กะ แต่ถ้ายังไม่พอก็ควรไปจ้างผู้รับจ้างข้างนอก เพื่อให้บริษัทได้ยอดขายและผลกำไรเพิ่มขึ้นทรัพยากรในที่นี้อาจเป็นคน เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีต่างๆ ก็ได้ หรือการจ้างผลิตทุกอย่างที่หากบริษัททำเองจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าก็ใช่เช่นกัน
3. กลยุทธ์การบริหารจัดการภายในและภายนอกเพื่อประโยชน์สูงสุด ประโยชน์สูงสุดในที่นี้คือทุกอย่างที่บริษัทต้องได้กำไร บริษัทต้องบริหารจัดการภายในให้ได้ด้วย แล้วต้องไปเชื่อมโยง
4. การจ้างองค์กรภายนอก เป็นการจ้างเพื่อทำอะไรก็ได้เป็นเรื่องๆ ไป
5. การจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอก ในงานบางอย่างบริษัทอาจไม่มีผู้เชี่ยวชาญ กว่าจะส่ง
พนักงานไปอบรมหรือฝึกงาน เพื่อกลับมาทำงานให้บริษัท เมื่อกลับมาพนักงานอาจลาออกเพราะถูกบริษัทอื่นดึงตัวไปร่วมงานด้วยก็ได้ ดังนั้นการพิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก อาจจะส่งผลดีต่อการทำงานของบริษัทมากกว่า รวดเร็วกว่า และได้ผลงานที่ถูกต้องตามที่บริษัทต้องการมากกว่า การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญส่วนมากแล้วบริษัทสามารถใช้งานผู้เชี่ยวชาญได้ทันที
ทำไมต้องทำ Outsourcing
• การแข่งขันสูง
ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีคู่แข่งเยอะขึ้น การทำ Outsource จะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน บริษัทจำเป็นต้องรู้ว่าคู่แข่งของตนเป็นใคร ลูกค้าคือใคร ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายจะเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่บริษัท เมื่อการแข่งขันสูง บริษัทต้องหาทางสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยทั่วไปธุรกิจต่างๆ มักแข่งกันด้วยราคาขายสินค้า
• ต้องการประหยัด
ต้องทำ Outsource เพื่อประหยัดต้นทุน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะหน้าที่ของผู้บริหารเท่านั้น การทำ Outsource ต้องพิจารณาด้วยว่าการไปจ้างคนภายนอก บริษัทสามารถประหยัดได้เท่าไร สิ่งนี้เป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบให้พบ ดังนั้นก่อน Outsource บริษัทต้องดูต้นทุนภายในก่อนว่าเป็นอย่างไรหาก Outsource แล้วต้นทุนจะเป็นเท่าไร และนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูว่าบริษัทจะได้ประโยชน์หรือไม่ และจะประหยัดได้เท่าไรก่อนตัดสินใจทำ Outsource ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จำเป็นต้องรู้ความต้องการของบริษัทก่อนต้องรู้ราคาต้นทุนภายในบริษัท หาก Outsource แล้วบริษัทจะได้อะไร และยังต้องดูไปถึงวิธีการบริหารจัดการของผู้รับจ้างกับบริษัทด้วยว่าไปด้วยกันได้หรือไม่
• ต้องการผู้เชี่ยวชาญ เพราะไม่มีการเรียนรู้
ปกติการทำงานของแต่ละบริษัท พนักงานจะต้องมีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนไปเรื่อยๆ แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ได้มีการเรียนรู้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง หลายบริษัทจึงต้องจ้าผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน เพราะกว่าที่บริษัทจะส่งพนักงานไปเรียนและกลับมาทำงานให้ อาจจะช้าเกินไป โดยเฉพาะในระหว่างการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่ง
• ต้องการกำลังคน
บางบริษัทอาจจำเป็นต้อง Outsource เพราะพนักงานของตนไม่เพียงพอ เช่น การOutsource เพื่อจ้างผลิตสินค้า เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าแผนกบุคคลเป็นแผนกที่ Outsource ง่ายที่สุด แต่บุคลากรแต่ละระดับManagement อาจจะไม่เหมาะในการ Outsource เพราะจะต้องเป็นผู้เข้ามาบริหารจัดการ การ Outsource ของบริษัท
ประเภทของ Outsource
1. IT การ Outsource ทางด้านไอทีจะง่ายมาก เพราะกว่าจะไปซื้อโปรแกรมหรือระบบงานทางด้านไอทีมาติดตั้งเพื่อใช้งาน บริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ และยังจะต้องเสียเวลา เสียเงินในการฝึกอบรมพนักงาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลโปรแกรมนั้นๆ อีกด้วย เหตุที่ระบบไอทีหรือคอมพิวเตอร์ Outsource ง่าย เพราะผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้มีน้อย ส่วนใหญ่ไอทีจะเป็นกิจกรรมทางด้านการสนับสนุนการทำงานของบริษัท ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบCall Center เป็นต้น
2. Service หรือบริการต่างๆ เช่น บริการทำความสะอาด บริการรักษาความปลอดภัย
บริการดูแลอาคารสถานที่ เป็นต้น ในส่วนนี้ดูตัวอย่างได้จากธนาคารที่อยู่ตามตึกต่างๆ ซึ่งไม่สามารถใช้บริการรักษาความปลอดภัยของตึกนั้นๆ ได้ จึงมัก Outsource จ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยต่างหากเพื่อมาดูแลรักษาผลประโยชน์ธนาคารสาขาของตน



แหล่งที่มา  www.google.com

HRM

การบริหารทรัพยากรมนุษย์Human Resource Management
               การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) คือ การวางแผน การจัดองค์การ การอำนวยการ การสั่งการ เกี่ยวกับการสรรหา คัดเลือก การพัฒนา การบำรุงรักษา การจ่ายค่าตอบแทน การบูรณาการ การออกจากงาน เพื่อสนองความต้องการของสังคม องค์การ และบุคคล
วัตถุประสงค์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 
1. เพื่อการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้ายการบรรจุให้ปฏิบัติงานตรงกับความรู้ความสามารถ
2. เพื่อให้ได้คนดีที่มีความสามารถมากที่สุดเข้าสู่องค์การ
3. เพื่อพัฒนาคนดีให้ดียิ่งๆ ขึ้น
4. เพื่อรักษาคนดีให้อยู่กับองค์กรให้นานที่สุด
5. เพื่อการจัดระบบบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพ 
ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
           เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ามากที่สุดในบรรดาทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้
1. มีความสำคัญต่อการสัมฤทธิ์ผลขององค์การตามทิศทางที่กำหนด ได้แก่ วิสัยทัศน์ ภารกิจ นโยบาย และเป้าหมาย
2. มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของพนักงานในด้านการมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และความเจริญเติบโตในสายงานอาชีพ
3. มีความสำคัญต่อการจัดระบบการบริหารจัดการ เนื่องจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีการจัดการอย่างเป็นระบบ
4. มีความสำคัญในแง่ของทรัพยากรที่มีคุณค่า ซึ่งองค์การจะต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 
กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตำแหน่งงาน(task specialization process)
2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(human resource planning)
3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process)
4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process)
5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process)
6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation)
7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล(discipline control and evaluation process)
 การกำหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)
           ทั้งนี้เพราะงานเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์การ และเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะทรัพยากรบุคคลที่องค์การต้องการ ในการกำหนดงานจะต้องพิจารณาทั้งระบบคือการศึกษาองค์ประกอบขององค์การ องค์การประกอบของสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบด้านพฤติกรรม และสร้างงานขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้ายคือ การเพิ่มผลผลิตในองค์การและการที่พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน ซึ่งมีขั้นตอนดั้งต่อไปนี้
1. การจัดให้งานเป็นสิ่งที่มีลักษณะง่าย(Work simplification) เป็นการแบ่งงานต่างๆ ให้เป็นงานย่อยหลายๆ ชิ้น ที่ใช้ความชำนาญเฉพาะแต่เป็นงานง่ายๆ
2. การหมุนเวียนงาน(Job rotation) พนักงานจะสับเปลี่ยนงานที่มีลักษณะง่ายๆ หรืองานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่ง เป็นการลดความเบื่อหน่ายในการทำงานชิ้นหนึ่ง เพื่อไปทำงานอีกชิ้นหนึ่ง
3. การขยายขอบเขตงาน(Job enlargement) เป็นวิธีตรงกันข้าม วิธีที่กล่าวคือ ถ้างานๆหนึ่ง สามารถแบ่งเป็นวิธีการจัดการอย่างง่ายๆได้ 3 อย่างแล้ว ในแง่ของการขยายขอบเขตงาน จะให้คนทำงาน ทั้ง 3 อย่างนั้นพร้อมกัน เพื่อลดเป้าหมายในการทำงานอย่างเดียวมีความหมายยิ่งสำหรับคนทำงาน
4. การเพิ่มเนื้อหาของงาน(Job enrichment) เป็นการเพิ่มความรับผิดชอบให้กับพนักงานให้ความเป็นอิสระในการทำงานและให้ควบคุมคนเอง เป็นวิธีที่สามารถเพิ่มความหมายและคุณค่าในตัวงานสำหรับพนักงาน
การวิเคราะห์งาน(Job Analysis)
           การวิเคราะห์งาน คือ กระบวนการพิจารณา จำแนกแยกแยะ ประเมินผลและจัดข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ งานอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล
กระบวนการในการวิเคราะห์มีดังนี้
1. การระบุขอบเขตงาน(Job identification)ต้องทำก่อนที่จะรวบรวมสารสนเทศของการวิเคราะห์งาน การระบุขอบเขตงานนี้จะทำได้ง่ายสำหรับองค์การขนาดเล็ก เพราะมีงานไม่มากนัก แต่จะประสบความยุ่งยากมากสำหรับองค์การขนาดใหญ่
2. การสร้างแบบสอบถาม(Questionnaire development)ในการศึกษางาน จะต้องดำเนินการจัดทำรายการ หรือแบบสอบถามซึ่งเรียกกันว่า ตารางการวิเคราะห์งาน (job analysis schedules) ในแบบสอบถามนี้จะใช้ศึกษารวบรวมสารสนเทศของานที่มีมาตรฐานเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความสามารถของบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ควรใช้แบบสอบถามชนิดเดียวกันศึกษางานประเภทเดียวกัน
3. การรวบรวมสารสนเทศจากการวิเคราะห์งาน(Colect job analysis information) การรวบรวมข้อมูลต่างๆ อาจทำได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ การสอบถามผู้เชี่ยวชาญ การส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ การพิจารณาบันทึกประจำวันในการปฏิบัติงานของคนงานและการสังเกต
คำอธิบายลักษณะงาน(Job description)
ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. ข้อความที่เกี่ยวกับชื่อของงาน (Job identification) ซึ่งหมายถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับชื่อของงาน และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการระบุลักษณะซึ่งจะช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างจากงานอื่นๆ ในองค์การ
2. สรุปงาน (Job Summary) หมายถึงการสรุปเกี่ยวกับงานด้วยข้อความที่ย่นย่อ แต่มีข้อความที่พอเพียงในการช่วยให้ทราบและชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของหน้าที่งาน (duties) ที่ต้องทำของงานนั้นๆที่ต่างจากหน้าที่งานของงานอื่นๆ
3. หน้าที่งาน (Job duties) หมายถึงส่วนของหน้าที่งานสำคัญและความรับผิดชอบเกี่ยวกับงาน

JIT


ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  ( Just-in-Time  Production  Systems)  :  JIT
                 การผลิตแบบ JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า  JIT  คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะลูกค้าผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคลากรในส่วนงานอื่นที่ต้องการงานระหว่างทำหรือวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตต่อเนื่องด้วย โดยใช้วิธีดึง ( Pull Method of Material Flow ) ควบคุมวัสดุคงคลังและการผลิต ณ สถานีที่ทำการผลิตนั้นๆ  ซึ่งถ้าทำได้ตามแนวคิดนี้แล้ววัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปจะถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง
วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี
-       ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์
-       ลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time )
-       ขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures )
-       ขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste )  ดังต่อไปนี้
การผลิตมากเกินไป ( Overproduction )  :  ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
การรอคอย ( Waiting )  :  วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
การขนส่ง ( Transportation )  :  มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ( Processing itself )  :  มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น
การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง ( Stocks )  :  วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
การเคลื่อนไหว ( Motion )  :  มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน
การผลิตของเสีย ( Making defect )  :  วัสดุและข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มาตรฐาน  ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
ผลกระทบจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี
                ปริมาณการผลิตขนาดเล็ก ( Small lot size )  ระบบ JIT จะพยายามควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดเพื่อไม่ก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงผลิตในปริมาณที่ต้องการระยะเวลาการติดตั้งและเริ่มดำเนินงานสั้น ( Short setup time )  ผลจากการลดขนาดการผลิตให้เล็กลง ทำให้ฝ่ายผลิตต้องเพิ่มความถี่ในการจัดการขึ้น ดังนั้นผู้ควบคุมกระบวนการผลิตจึงต้องลดเวลาการติดตั้งให้สั้นลง เพื่อไม่ให้เกิดเวลาว่างเปล่าของพนักงานและอุปกรณ์และให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่วัสดุคงคลังในระบบการผลิตลดลง ( Reduce WIP inventory )  เหตุผลที่จำเป็นต้องมีวัสดุคงคลังสำรองเกิดจากความไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต ระบบ JIT มีนโยบายที่จะขจัดวัสดุคงคลังสำรองออกไปจากกระบวนการผลิตให้หมด โดยให้คนงานช่วยกันแก้ไขปัญหาความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นสามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง  -  ในระบบ JIT ผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า  “ คุณภาพ ณ แหล่งกำเนิด ( Quality at the source ) ”
ประโยชน์ที่เกิดจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี
               เป็นการยกระดับคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้นและลดของเสียจากการผลิตให้น้อยลง  :  เมื่อคนงานผลิตชิ้นส่วนเสร็จก็จะส่งต่อไปให้กับคนงานคนต่อไปทันที ถ้าพบข้อบกพร่องคนงานที่รับชิ้นส่วนมาก็จะรีบแจ้งให้คนงานที่ผลิตทราบทันทีเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกต้อง คุณภาพสินค้าจึงดีขึ้น   ต่างจากการผลิตครั้งละมากๆ คนงานที่รับชิ้นส่วนมามักไม่สนใจข้อบกพร่องแต่จะรีบผลิตต่อทันทีเพราะยังมีชิ้นส่วนที่ต้องผลิตต่ออีกมาก
               ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว  :  เนื่องจากการผลิตมีความคล่องตัวสูง การเตรียมการผลิตใช้เวลาน้อยและสายการผลิตก็สามารถผลิตสินค้าได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน จึงทำให้สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเหลืออยู่น้อยมาก เพราะเป็นไปตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง   การพยากรณ์การผลิตแม่นยำขึ้นเพราะเป็นการพยากรณ์ระยะสั้น ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขปัญหาต่างๆในโรงงาน ทำให้มีเวลาสำหรับการกำหนดนโยบาย วางแผนการตลาด และเรื่องอื่นๆได้มากขึ้น
             คนงานจะมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและงานของส่วนรวมสูงมาก  :  ความรับผิดชอบต่อตนเองก็คือจะต้องผลิตสินค้าที่ดี มีคุณภาพสูง ส่งต่อให้คนงานคนต่อไปโดยถือเหมือนว่าเป็นลูกค้า ด้านความรับผิดชอบต่อส่วนรวมก็คือคนงานทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ปัญหาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในการผลิต เพื่อไม่ให้การผลิตหยุดชะงักเป็นเวลานาน



CRM


CRM


            CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันกับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันกับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

    1.Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
    2.Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
    3.Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
    4.Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
            CRM มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น Web Site เป็นต้น CRM software  ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า ซึ่ง CRM software มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
    1.Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
    2.Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้
    3.Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล (Database ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจ

1.CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น
2.CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม กับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น



แหล่งที่มา  http://www.mindphp.com/

EDI


EDI
1. EDI ( Electronic Data Interchange ) คืออะไร ?
EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง มีสององค์ประกอบที่สำคัญในระบบ EDI คือ การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทนเอกสารที่เป็นกระดาษเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก
2. ประโยชน์ของ EDI คืออะไร ?
  ประโยชน์หลัก ๆ ของ EDI ต่อธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
v  เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
v   ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
v   สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
v   ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงานเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
v   เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า
3. เหตุใดจึงต้องใช้รูปแบบมาตรฐานสากล สำหรับเอกสาร EDI ?
มาตรฐานเอกสาร EDI เปรียบเสมือนภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคู่ค้า มาตรฐานเอกสาร EDI ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกมีอยู่หลายมาตรฐาน อาทิเช่น ANSI X12 ซึ่งใช้แพร่หลายในประเทศอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย
ODDETTE, TRADACOMS ซึ่งใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปสำหรับประเทศในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย ส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานของ UN/EDIFACT ซึ่งย่อมาจาก United Nation/Electronic Data Interchange for Administration, Commerce, and Transportation เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย United Nation ขณะนี้ หลายๆประเทศกำลังพยายามปรับมาตรฐานของตนให้เข้ากับมาตรฐานนี้เนื่องจากมีการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
เอกสารประเภทใดบ้างที่ใช้ EDI มาทดแทนได้ ?
เอกสารทางธุรกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถทดแทนด้วยเอกสาร EDI ได้ทั้งหมด เช่น  เอกสารทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation)    ใบแจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น เอกสารทางด้านการเงินได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (Remittance Advice) เป็นต้น เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการบรรทุกสินค้าภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น
ธุรกิจประเภทใดที่สามารถนำ EDI มาใช้ได้  ?
             ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำๆแต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำของข้อมูลเช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
ผลกระทบของการใช้ EDI กับระบบการทำงานของพนักงานในปัจจุบัน ?
            หลายท่านอาจกังวลว่า การนำเอา EDI มาใช้จะเข้ามาทดแทนการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้พนักงานว่างงานอันที่จริงแล้ว EDI สามารถช่วยลดงานเอกสารที่มีปริมาณมาก และต้องทำซ้ำ ๆ ทำให้เราสามารถนำพนักงานที่มีอยู่ไปพัฒนาให้ทำงานประเภทอื่นๆที่มีคุณค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงานให้แก่พนักงานและบริษัท



SCM



SCM
            SCM คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน ในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการบริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
            การดำเนินธุรกิจในยุคนี้ให้ประสบความสำเร็จ และมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างแท้จริง องค์การไม่สามารถดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือกระทำโดยลำพังได้ ดังนั้น การปรับมุมมองการดำเนินงานเข้าสู่แนวคิด SCM จึงควรมีความเข้าใจความหมายของ SCM อย่างครบถ้วนเพื่อที่จะสามารถพิจารณา และกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง การบริหารในปัจจุบันและอนาคตนั้นองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การทำกำไรในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น ในอนาคตองค์การอาจต้องมีการจัดการผลกำไรอย่างเจาะจงตามประเภทลูกค้า และสินค้า และมองหาโอกาสในการสร้างกำไรในอนาคตระยะยาว
ผู้นำองค์การในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการสร้างพันธมิตร ในอนาคตการพัฒนาองค์การจะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking Organization)
การทำงานของบุคลากรจะเน้นการทำงานได้หลากหลาย ทำงานข้ามวัฒนธรรม และได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน และให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของร่วม
ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรักษาสภาพทางการตลาด มีการกำหนดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางใหม่มีการรวบรวมคนกลางและกำหนดการลงทุนธุรกิจใหม่
การมีช่องทางมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ การมีลูกค้าที่หลากหลาย จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ทำให้การบริหารองค์การทำได้ยากขึ้น ทำให้องค์การเข้าสู่การเป็นองค์การขยาย และเน้นการตอบสนองลูกค้าเป็นราย ๆ
มีการใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
การประเมินผล และการนำทิศทางองค์การ มุ่งเน้นมูลค่าของหุ้นและมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ
เน้นหนักสินค้าบริการเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับราคามากขึ้น ลูกค้ามีความคาดหวังต่อบริการมากขึ้น
คุณภาพถือเป็นสิ่งบังคับที่ต้องมีอยู่แล้วลูกค้าไม่ต้องการสินค้าหลากหลายแต่ต้องการสินค้าที่เหมาะกับตน องค์การจะต้องเน้นการทำตลาดเจาะจงโดยใช้แหล่งวัตถุดิบร่วมกัน รวมทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น
การตลาดมุ่งเน้นลูกค้าแต่ละราย
การบริหารเน้นการสร้างพันธมิตรมากขึ้น เช่น การเป็นพันธมิตรกับคู่แข่งมากขึ้นทั้งในลักษณะเอกเทศและพหุภาคี (มานะ ชัยวงค์โรงจน์,2546:26-27)
ในแต่ละองค์การต่างมีระบบ SCM แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ระบบ SCM ขององค์การ ที่ประกอบไปด้วย ผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและลูกค้านั้นแต่ละหน่วยมีความเข้มแข็ง หรือมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งหมายความว่าองค์การ มีการจัดระบบให้มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีเพียงใด มีหน่วยวัดความสำเร็จของระบบโดยรวมที่ชัดเจนหรือไม่ มีการพัฒนาระบบในตัวเองได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไร

องค์ประกอบของการบริหาร Supply Chain Collaboration
            ปัจจุบันเรื่องของ Supply Chain หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน ที่ทำให้ทุกภาคธุรกิจใส่ใจกับเรื่องการลดต้นทุนในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ
การพยายามลดต้นทุนเฉพาะภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับภาวะในปัจจุบันที่มีการแข่งขันรุนแรง เพราะกว่าผลิตภัณฑ์จะถึงมือลูกค้า (End Users) ก็ต้องผ่านมือผู้ผลิตมาหลายทอด ดังนั้นการสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Competitiveness) จึงจำเป็นต้องมาจากความร่วมมือในหมู่คู่ค้าที่ผลิตภัณฑ์นั้นผ่านมือหรือ Chain เป็นพื้นฐาน
กระบวนการทำงาน แผนงาน ตลอดจนข้อมูลของบริษัทนั้น ถือเป็นความลับและจำกัดขอบเขตการรับรู้อยู่แต่ในวงผู้เกี่ยวข้องภายในเท่านั้น แต่การที่แต่ละองค์กรจะสร้างกระบวนการเพื่อ Collaborate กันได้นั้น จำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Information Sharing) โดยในการสร้างปัจจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่
1. ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) อันนี้เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากที่สุด จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นมา ในอดีตผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกันนั้นมักมีความไว้วางใจกันสูง ความไว้วางใจในอดีตนั้นมักเกิดในรูปของคุณภาพสินค้าและเครดิต แต่ปัจจุบันจะอยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนความคิด แผนงาน ตลอดจนข้อมูลการค้าที่สำคัญ และมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน ความเสียหายหรือต้นทุนที่เกิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งผลต่อคู่ค้าและผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่รายอื่นๆด้วย
2. การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing) หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกันหรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา (Time) และต้นทุน (Costs) คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead Time, Order Fulfillment
ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนในเรื่อง Inventory ได้ นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอนก็สามารถลดลงได้โดยอาศัยข้อมูลพยากรณ์ ที่คู่ค้านำมาใช้ร่วมกันเพื่อการวางแผนการผลิตและการจัดส่ง
3. คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information) คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไปหมายถึงความถูกต้อง (Accuracy) และความทันต่อเวลา (Timeliness) ข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากเป็นข้อมูลที่ขาดความถูกต้องแม่นยำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลาตามต้องการ นอกจากความถูกต้องและทันเวลาแล้ว ยังเป็นเรื่องของประเภทและระดับของข้อมูลที่ใช้ หากต้องการปรับปรุงในเรื่องของ Inventory ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องคือ การพยากรณ์ (Forecast) แผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาด, ข้อมูลสินค้าล้าสมัย, ข้อมูลสินค้าที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด, ข้อมูลสินค้าและบริการของคู่แข่ง เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องอยู่ในระดับที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้
4. เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication Technologies)ปัจจัยทั้งสามข้อที่ได้กล่าวมา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการนำเอาเรื่องของไอซีทีมาใช้ ความจริงเรื่องของ Collaboration มีการพูดถึงมานานแล้ว แต่องค์กรธุรกิจต้องใช้เวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อให้พร้อมทั้งตนเองและคู่ค้า ช่วงเวลาดังกล่าว อินเทอร์เน็ตถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ทั้งระบบสื่อสารก็ยังมีจำกัดและมีราคาค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ทว่าในปัจจุบัน การขยายตัวทั้งในส่วนของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและ Bandwidth ทำให้แนวโน้มอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตลดลงและเป็นที่นิยมแพร่หลาย อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเสมือนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้การสร้างกระบวนการ “Collaboration” สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้
การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การบริหาร SCM 
1. ความยืดหยุ่นในระบบ ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบ การใช้พนักงานชั่วคราว การใช้อุปกรณ์ที่ทำงานได้หลากหลาย การจ้างหน่วยงานภายนอกทำงาน การปรับปรุงกระบวนการให้ลดรอบเวลา
2. องค์การควรมีการออกแบบระบบให้เหมาะสมโดยเน้นสินค้า ช่องทาง หรือตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
3. มีการจัดแบ่งลูกค้าและสินค้า การปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละรายตามระดับประโยชน์ที่ได้รับจากลูกค้า การแยกประเภทลูกค้าอย่างเหมาะสม องค์การควรมีการมองภาพรวมทั้งโลก มีการกำหนดมาตรฐานของกระบวนการข้อมูล วัตถุดิบและปัจจัยพื้นฐาน การใช้ระบบงานร่วมกันทั่วโลก เช่น การใช้แหล่งผลิตร่วมกัน การใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน เป็นต้น
4. การบริหารการพัฒนาสินค้า การบริหารต้นทุนเป้าหมายของสินค้า (Target Costing) การบริหารต้นทุนของสินค้าตลอดช่วงอายุ (Life Cycle Costing)
5. การผลิตสินค้า/บริการเฉพาะลูกค้า การสร้างความแตกต่างของสินค้า/บริการใกล้จุดส่งมอบที่สุดการผลักภาระให้ลูกค้าทำให้สินค้า/บริการเหมาะกับตนมากที่สุด การออกแบบให้สินค้า/บริการใช้วัสดุหรือชิ้นส่วนร่วมกัน การทำให้สินค้ามีความแตกต่างตามลูกค้า เกิดขึ้นที่โรงงาน โกดัง หรือจุดส่งมอบ
6. การใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม การปรับระบบข้อมูลให้ส่งเสริม การลดต้นทุน การสร้างความยืดหยุ่น และความสามารถในการแข่งขัน อาทิ เทคนิค Activity - Based Costing การเชื่อมโยงระบบกับคู่ค้า การลดรอบเวลาในการจัดหาข้อมูล จนถึงการใช้ประโยชน์ การปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้เน้นที่ลูกค้า
7. การลดความสูญเสีย การใช้มาตรฐานข้อมูลหรือสัญลักษณ์ การลดความซับซ้อนของสินค้า กระบวนการผลิต การส่งมอบ การลดจำนวนผู้ส่งมอบ การบริหารความต้องการและการตอบสนองสินค้าให้เกิดการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมากที่สุด
8. การสร้างพันธมิตร การใช้หน่วยงานทำงานแทนบางอย่าง การประสานงานระหว่างคู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้ให้บริการ และลูกค้า การพัฒนาการจัดการในด้านนี้
9. การใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาเครือข่ายผู้ส่งมอบ เพื่อร่วมจัดทำแผนการผลิตและส่งมอบอย่างทันเวลา
10.การพัฒนาบุคลากร การมีมุมองหลากหลายบนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การทำงานหลากหลายเพื่อสร้างความเข้าใจในงานทุกระบบ การมีความรู้ถึงระดับภาคปฏิบัติ การพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลาย ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

แหล่งที่มา   http://prathip511341054.blogspot.com/2009/11/scm.html